ปี พ.ศ. 2202 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ได้มีราษฎรอ้ายลาว (พิลาว - น้องลาว) อพยพมาจากเมืองจําปาสัก ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรลานช้าง นําโดยพระสีสุราชหรือท้าวสีสุราชเป็นหัวหน้า พระสีสุราชเป็น ราชบุตรของเจ้าเมืองจําปาสัก อพยพเข้ามาทางดอนมดแดง (อุบลราชธานี) ผ่านเมือง สุวรรณภูมิมาตั้งถิ่นฐานที่โคกหนองดุม ซึ่งมีชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์
ปี พ.ศ. 2212 พระสีสุราชได้ย้ายจากโคกหนองดุม ไปตั้งบ้านที่ดงตะกวดโนนสูง ความ ตอนนี้เล่าว่าพระสีสุราช ชาวบ้านเรียกกันว่า ท้าวสีสุราชหรือเฒ่าไก่สามเก้า เหตุเพราะท่าน ไก่ไว้กินไข่กินเนื้อ เวลาที่จะออกไปทําศึกหรือเดินทางไปไหนมาไหน ท่านชอบให้บริวารใช้หอก
ประวัติบ้านยางสีสุราช
สามง่าม จํานวน 9 อัน ยกขึ้นนั่งบนคอช้างและเวลาจะลงจากคอช้างก็ให้บริวารใช้หอกรับ ลงทุกครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นอิทธิฤทธิ์มีวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพัน
ปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายจากบ้านดงตะกวดโนนสูง ไปตั้งที่โนนบ้านนาที่อยู่ทางเหนือขึ้น มา มีลําห้วยไหลผ่าน ขณะนั้นทางกรุงธนบุรีกําลังมีเหตุการณ์วุ่นวาย สมเด็จเจ้าพระมหา กษัตริย์ศึก ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามนามว่า สมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบกบฏได้เรียบร้อยและทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางทิศตะวัน ออกของกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี
ปี พ.ศ. 2235 พระสีสุราช ได้ย้ายจากโนนบ้านนามาทางด้านตะวันออก ที่มีชัยภูมิ เป็นป่าดงยางใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะมีหนองน้ําธรรมชาติหลายแห่ง เช่น หนองโพด หนองกระบอง หนองโสกเปื่อย และวังศาลา มีสัตว์อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น ลิง ค่าง บ่าง ชะนี เสือ ช้าง แรด และยังมีนกอาศัยอยู่เป็นจํานวนมากมากอีกด้วย เช่น นกกระสา นกกระยาง นกคอก นกกาบบัว นกหงส์ นกเจ่า นกดวง อีแร้ง เป็นต้น พอถึง ฤดูฝนตก พายุพัดแรงทําให้บรรดาลูกนกที่อยู่ในรังถูกพัดตกลงมาจากรัง เกลื่อนกลาด ชาวบ้านเก็บเอาไปทําเป็นอาหารปีละมาก ๆ ดินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ผลหมากราก ไม้หลากหลายพันธุ์ สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก นาข้าวอุดมสมบูรณ์ เมื่อ ก่อตั้งบ้านเรือนเสร็จจึงตั้งชื่อบ้านตามนามของผู้นํา คือ พระสีสุราช + ป่าดงยางใหญ่ ว่า บ้านยางสีสุราช เพื่อเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขสืบไป
ปี พ.ศ. 2240 พระสีสุราช ได้ปกครองบ้านและทํานุบํารุงให้ชาวบ้านได้อยู่เป็นสุข และ ได้เลือกชัยภูมิที่เหมาะสมเพื่อตั้งวัดให้เป็นศูนย์รวมจิตใจในการทําบุญและแหล่งศึกษาหาความ รู้ของบุตรหลานที่บวชเรียนในสมัยนั้น พร้อมกับเลือกสถานที่ที่มีทําเลเหมาะสมตั้งศาลปู่ตาขึ้น ประจําหมู่บ้าน เพื่อเป็นที่ร่วมทําพิธีกรรมทางไสยศาสตร์และยึดเหนี่ยวจิตใจ สืบต่อไปในอนาคต
ปี พ.ศ. 2336 พระสีสุราชได้ถึงแก่กรรมลงและนําไปเผาที่โคกโสกเชือยหรือโคกหนอง หัวคนที่อยู่ทางทิศเหนือของบ้านโนนยาง และได้เรียกชื่อกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน คือ โคกฟ้า ทั้งนี้เป็นเพราะนําศพของพระสีสุราชซึ่งเป็นลูกเจ้าฟ้าเมืองจําปาสัก ไปเผาที่นั้น ตามธรรมดา เรียกว่า โคกป่าช้า เหมือนกันทั้งหมดในภาคอีสาน ในสมัยของท้าวเมืองแสน ได้ทํานุบํารุงบ้านให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข โดยจัดให้มีสถานที่คุก หรือตารางหรือ ศาลหลักชื่อ - คา ไว้สําหรับลงโทษผู้กระทําผิดกฎระเบียบ ประเพณีอัน ดีงามของบ้านเมืองในสมัย บ้านยางสีสุราชขึ้นตรงทางการปกครองของเมืองโคราช
ปี พ.ศ. 2407 บ้านยางสีสุราชย้ายจากการปกครองของโคราชไปขึ้นอยู่กับมณฑลร้อยเอ็ดและขึ้นตรงกับเขตเมืองมหาสารคามในปีเดียวกัน ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมื่นมหาเสนาได้ปกครองบ้านเมืองสืบต่อมาและมีผู้สืบทอด ปกครองต่อมา
หลักฐานต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระสีสุราชและท้าวเมืองแสน ที่ยังมีสืบทอดจากบรรพบุรุษ ถึงลูกหลานในปัจจุบัน คือ ดาบประจําตัวพระสีสุราช ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เมตร เป็น เหล็กกําพี้น้ำดี ไม่เกิดสนิม มีลวดลายที่ปลายด้าม สวยงามมากได้จากลูก หลาน เหลน หล่อน ได้มอบให้หลวงปู่รอด พรมสุสโร (พระครูวิเศษสารกิจ) อดีตเจ้าคณะตําบลนาภู วัดบ้านหนองกุง อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (ปัจจุบันบ้านหนองกุง อําเภอนาเชือก จังหวัด มหาสารคาม) ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ในสมัยนั้น เมื่อสิ้นหลวงปู่รอด ต่อมาได้มอบดาบไว้กับหลวง ปู่พระครูภัทสารพิสุทธิ์ (หลวงปู่อุ่น ภัทญาโน)

คำขวัญ: เจียระไนพลอยหลากสี หลากหลาย ผ้าไหมเนื้อดี มากมีต้นยางใหญ่
ยางสีสุราช เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 11 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 11 ของจังหวัด มี 7 ตำบล 91 หมู่บ้าน
อำเภอยางสีสุราชตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาเชือกและอำเภอนาดูน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนาดูนและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอพุทไธสง (จังหวัดบุรีรัมย์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนาโพธิ์ (จังหวัดบุรีรัมย์)
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอยางสีสุราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 91 หมู่บ้าน
1. | ยางสีสุราช | (Yang Sisurat) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
2. | นาภู | (Na Phu) | 17 หมู่บ้าน | |||||||
3. | แวงดง | (Waeng Dong) | 19 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บ้านกู่ | (Ban Ku) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ดงเมือง | (Dong Mueang) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
6. | สร้างแซ่ง | (Sang Saeng) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
7. | หนองบัวสันตุ | (Nong Bua Santu) | 12 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอยางสีสุราชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางสีสุราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสีสุราชทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาภูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแวงดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแวงดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเมืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขามเรียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างแซ่ง (ขามเรียนเดิม) ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวสันตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวสันตุทั้งตำบล
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2532 กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้ตั้งกิ่งอำเภอยางสีสุราช โดยแบ่งท้องที่ออกจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 6 ตำบล คือ ต.ยางสีสุราช ต. นาภู ต. แวงดง ต.บ้านกู่ ต.ดงเมือง และ ต.ขามเรียน ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอยางสีสุราช ที่บ้านสนาม หมู่ที่ 2 ตำบลยางสีสุราช ชื่อกิ่งอำเภอตั้งเพื่อเป็นเกีตรติแก่ พระสีสุราช ที่เป็นผู้พาชาวบ้านอพยพมาอยู่ในช่วงแรก ๆ ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2538
สถานที่สำคัญของอำเภอยางสีสุราช ประกอบด้วย อนุสาวรีย์พญาศรีสุราชวัดบ้านยางสีสุราช
คำขวัญอำเภอยางสีสุราช คือ เจียระไนพลอยหลากสี หลากหลายผ้าไหมเนื้อดี มากมีต้นยางใหญ่