หมู่บ้านสารสนเทศชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ดำเนินการโครงการหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ตระหนักถึงความสำคัญเห็นประโยชน์ของข้อมูล ยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีเป้าประสงค์ของโครงการ คือ การมีรูปแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและบริหารจัดการชุมชน ตลอดจนการเกิดเครือข่ายการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน
การพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการนำข้อมูลสารสนเทศของชุมชน เช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช.๒ค และข้อมูลอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ เป็นปัจจัยนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างมีเหตุผล ตามบริบทของแต่ละชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในชุมชน มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ประชาชนสามารถบริหารจัดการตนเอง แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศของตนเองได้อย่างทั่วถึง และสนับสนุนให้มีการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกระบวนการดังกล่าว จึงเห็นควรดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้เป็นหมู่บ้านที่มีในการนำข้อมูลสารสนเทศชุมชนมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและบริหารจัดการชุมชน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้หมู่บ้านได้ใช้สารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและบริหารจัดการชุมชน
2. เพื่อให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนในการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ตระหนักถึงความสำคัญ เห็นประโยชน์ของข้อมูล ยอมรับและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
3. เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดทำข้อมูลสารสนเทศชุมชนแบบบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน
ทิศทางการดำเนินงาน
ระดับกรม
1. แจ้งแนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้านสารสานเทศต้นแบบการจัดการสานสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. ติดตาม/รบรวม การดำเนินงานหมู่บ้านสารสนเทศฯ
3. ร่วมคัดเลือกหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบฯระดับภาค
ระดับจังหวัด
1. แต่งตั้งคณะทำงานทีมบูรณาการระดับจังหวัด
2. คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายระดับจังหวัด
3. สนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเป้าหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจังหวัดเพื่อนำไปสู่การประสานภาคีการพัฒนาในการแก้ไขปัญหาตามแผนการพัฒนาหมู่บ้าน
4. จัดการความรู้ ในการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านต้นแบบ
ระดับอำเภอ
1. แต่งตั้งคณะทำงานทีมบูรณาการระดับอำเภอ
2. ประชาสัมพันธ์ความรู้ ความเข้าใจ ICT/แนวทาวทางการดำเนินงานฯแก่หมู่บ้านเป้าหมาย
3. สนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเป้าหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจังหวัดเพื่อนำไปสู่การประสานภาคีการพัฒนาในการแก้ไขปัญหาตามแผนการพัฒนาหมู่บ้าน
4. จัดการความรู้ ในการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านต้นแบบ
ระดับหมู่บ้าน
1. แต่งตั้งคณะทำงานทีมบูรณาการระดับหมู่บ้าน
2. ดำเนินการตามกระบวนการการทำงาน 5 กระบวนการ ดังนี้
กระบวนการที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย เข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูล และการใช้ประโยชนข้อมูล
– หมู่บ้านมีข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล จปฐ. กชช 2ค ทุนชุมชน และแผนชุมชน ฯลฯ
– ข้อมูลที่มีบอกให้ทราบถึง สภาพหมู่บ้าน คุณภาพชีวิต สภาพปัญหาต่างๆ สถานะทางเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน ฯลฯ
– หมู่บ้านนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ประเมิน สถานะหมู่บ้าน ประเมินจัดระดับการพัฒนาฯ
กระบวนการที่ 2 กำหนดความต้องการร่วมกัน
หมู่บ้าน ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน วิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศของคนในหมู่บ้าน และออกแบบระบบสารสนเทศของหมู่บ้าน โดยใช้การมีส่วนร่วม(Participatory Design) และกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Learning Process involved)
กระบวนการที่ 3 ร่วมกันจัดทำสารสนเทศหมู่บ้านร่วมกันดำเนินการจัดทำสารสนเทศ ดังนี้
– รวบรวมข้อมูลที่หมู่บ้านมี
– จัดประเภทข้อมูล ได้แก่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ด้วนสังคม ด้านวัฒนธรรมฯลฯ
– เลือกรูปแบบสารสนเทศ ได้แก่ เอกสาร บอร์ด ออน์ไลน์)
กระบวนการที่ 4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หมู่บ้านร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน(TDR) รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน(VDR)
กระบวนการที่ 5 การเผยแพร่และบำรุงรักษา
– หมู่บ้านนำสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
– หมู่บ้านประสานหน่วยงานและองค์การในชุมชน ให้มารองการดำเนินงานของระบบสารสนเทศชุมชนที่พัฒนาขึ้น เพื่อบำรุงรักษาให้ระบบสารสนเทศมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
คุณสมบัติของหมู่บ้านต้นแบบเป้าหมาย
1. เป็นหมู่บ้านที่มีความพร้อมในเรื่องของสถานที่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ICT และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2. มีบุคลากร/อาสาสมัครชุมชนที่มีทักษะและความสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้