เมืองนครเตา หรือเมืองรัตนบุรี เดิมเป็นหมู่บ้าน ชื่อว่า “บ้านบุ่งหวาย หรือ บ้านหวาย” เนื่องจากบริเวณนี้มีหวายมากจนชาวบ้านในแถบนั้น ได้นำหวายไปทำประโยชน์ในครัวเรือน คำว่า บุ่ง เป็นภาษาพื้นบ้านในครั้งนั้น หมายถึงที่มีน้ำซึมออกมาตลอดเวลาอยู่ทางทิศเหนือของเมืองในปัจจุบัน ชาวบ้านได้ใช้ทำนา เรามองเห็นเป็นทุ่งอันกว้างใหญ่ เขาเรียกว่า บุ่ง มีสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่ สัตว์มีมากในสมัยนั้นได้แก่ เต่า เดินไปไหนมาไหน จะมีแต่เต่าคลานไปหมด
ก่อนมีบ้านมีเมือง พื้นที่ของเมืองเต่าเป็นที่อยู่ของพวกขอมสมัยเรืองอำนาจ เพราะปรากฏหลักฐานต่างๆ เช่น ปราสาทหิน มีทั้วไปในอำเภอรัตนบุรี ปราสาทบ้านธาตุ ปราสาทบ้านสนม ปราสาทบ้านขุมดิน นอกจากนี้มีศิลาแลงจมอยู่ในที่หลายแห่ง เช่น ที่บ้านดงเปือย ตำบลแก, บ้านม่วงบุญมี ตำบลแก, บ้านกางเก่า ตำบลแก, บ้านโกส้ม ตำบลน้ำเขียว, บ้านคอนสวรรค์ ตำบลไผ่, ปราสาทเหล่านี้สันนิษฐานว่า คงจะมีอายุใกล้เคียงกับสมัยที่สร้างปราสาทหินพิมาย หรือ สร้างเขาพนมรุ้ง นครธม
ที่ขอมหายสาบสูญจากพื้นที่แห่งนี้ อาจจากเหตุผล 3 ประการ คือ
- ประการแรก ภัยสงครามถูกชาติอื่นรุกรานล้ำเขตแดนตนก็ได้
- ประการที่ 2 ภัยธรรมชาติเกิดฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล จึงอพยพไปหากินในที่อื่นที่อุดมสมบูรณ์กว่า
- ประการที่ 3 เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะในสมัยโบราณ จะมีโรคหนึ่ง ชื่อว่า โรคห่า เกิดขึ้น ทำให้อพยพถิ่นไปอยู่ที่อื่น จึงเกิดการรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน
ต่อมาจึงมีพวกลาวที่มีภาษา อพยพมาอยู่แทนที่ พวกนี้เรียกว่า ลัวะ หรือ ละว้า พอมารวมกันเข้าจึงเรียกตนเองว่า ลาวเหนือ ลาวกลาง ลาวใต้ ส่วนอำเภอรัตนบุรี แขวงจังหวัดสุรินทร์นั้น มีอาณาเขต อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ เป็นพวกลาวใต้ แขวงเมืองอัตบือ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน กล่าวเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ มีอยู่ 6 พวก คือ พวกที่มาตั้งทัพอยู่ที่บ้านด่าน กิ่งบ้านด่าน จังหวัดร้อยเอ็ด เรียกว่า ด่านจีเนีย ภายหลังลาวพวกนี้เรียกตนเองว่า ส่วย คำว่า ส่วย เป็นภาษาลาวเดิมว่า ส่อย ตรงกับภาษาไทยว่า ช่วย คือลาวพวกนี้จะช่วยเหลือในการรบเก่ง มีความชำนาญในการรบ ยิงหน้าไม้ ธนูเก่ง ลูกดอกที่ใช้เป็นอาวุธจะอาบยาพิษเรียกว่า หน่อง พวกนี้จะกระจัดกระจายเป็นพวกเป็นเหล่า
ก่อนพวกละว้าหรือลัวะจะเข้ามาครอบครองจังหวัดสุรินทร์ คืออำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน ปรากฏตามหนังสือหลายเล่มว่า แผ่นดินตอนนี้เรียกว่า แคว้นเจนละบกหรือแคว้นภูนัน คือเมื่อประมาณ 2,000 ปีขึ้นไปพวกเจนละบก ได้แก่ พวกเขมรกับพวกขอมปนกัน (ชาติผิวดำ) มีเจ้าเมืองปกครองชื่อ พระเจ้าจิตตะเสนเจนละบก จะมีเมืองหลวงอยู่แห่งใดนั้นไม่ปรากฏชัด จึงขอพูดรวมๆ ไว้ในเขตจังหวัดสุรินทร์เป็นแคว้นเจนละบก หรือ ภูนัน ตามความเข้าใจเป็นอัตตามสันนิษฐานว่าคงจะมีเมืองหลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ เพราะมีหลักฐานที่จะสันนิษฐานได้คือ กำแพงเมืองอยู่ล้อมรอบเป็นเชิงเทิน อยู่จนทุกวันนี้
ภายหลังมีพวกลัวะ ละว้า หรือลาว เข้ายึด แคว้นเจนละบกก็ถูกทอดทิ้งให้เป็นป่าร้างอยู่เป็นเวลานาน ประมาณ 2,260 ปี จึงมีคนอีก 6 พวก เข้ามายึดครองจากอัตปือภาคใต้ของประเทศลาวเดี๋ยวนี้ เข้ามาทำมาหากิน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรไทยมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า ส่วย กวย หรือ กุย ที่อาศัยในเมืองอัตปือแสนแป (แสนแป) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นแดนของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 หรือ ร.ศ. 112) พวกเหล่านี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างมาเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน ตลอดทั้งการจับสัตว์ป่านานาชนิด ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้ามาสู่ฝั่งขวา เมื่อ ปี พ.ศ. 2260 โดยแยกกันหลายพวกมีหัวหน้าควบคุมมาและมาตั้งหลักฐาน ดังนี้
- พวกที่ 1 มาตั้งหลักฐานที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ต.เมืองที จ.สุรินทร์) หัวหน้าชื่อเชียงปุม
- พวกที่ 2 มาตั้งหลักฐานที่บ้านกุดหวาย บุ่งหวาย หรือเมืองเตา (อ.รัตนบุรี ในปัจจุบัน)

การแบ่งเขตการปกครอง
อำเภอรัตนบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 162 หมู่บ้าน
1. | รัตนบุรี | (Rattanaburi) | 17 หมู่บ้าน | 7. | ไผ่ | (Phai) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||||
2. | ธาตุ | (That) | 14 หมู่บ้าน | 8. | เบิด | (Boet) | 17 หมู่บ้าน | ||||||||||
3. | แก | (Kae) | 15 หมู่บ้าน | 9. | น้ำเขียว | (Nam Khiao) | 13 หมู่บ้าน | ||||||||||
4. | ดอนแรด | (Don Raet) | 16 หมู่บ้าน | 10. | กุดขาคีม | (Kut Kha Khim) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
5. | หนองบัวทอง | (Nong Bua Thong) | 9 หมู่บ้าน | 11. | ยางสว่าง | (Yang Sawang) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
6. | หนองบัวบาน | (Nong Bua Ban) | 15 หมู่บ้าน | 12. | ทับใหญ่ | (Thap Yai) | 10 หมู่บ้าน |
รัตนบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ มีเจ้าเมืองคนแรกคือ พระศรีนครเตา (เชียงสีหรือตากะอาม) มีประวัติศาสตร์และประเพณียาวนานกว่า 200 ปี มีชนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวอีสาน โรงเรียนประจำอำเภอคือโรงเรียนรัตนบุรี