ข้อความทั่วไป
กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง โดยมีเป้าประสงค์คือ ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยใช้กลยุทธ์ที่สำคัญคือ บูรณาการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกลยุทธ์ให้ตอบสนองต่อนโยบาย จึงสนับสนุนการจัดตั้ง ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) ขึ้น และในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ กรมการพัฒนาชุมชนได้เปลี่ยนชื่อศูนย์เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕- ๒๕๕๙ ที่มีเป้าหมาย ภายใต้วิสัยทัศน์“ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” จากศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนครบวงจร เป็น “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” เพื่อให้ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นไปตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน จึงได้กำหนดระเบียบการดำเนินงาน ไว้ดังนี้
ข้อที่ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ระเบียบศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ”
ข้อที่ ๒ กำหนดเวลาการใช้ข้อบังคับ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อที่ ๓ คำนิยามต่างๆ ในระเบียบข้อบังคับ ความในระเบียบนี้เรียกว่า “เครือข่าย” หมายถึง การรวมตัวกันของกลุ่มและองค์กรต่าง ๆ ที่มีลักษณะความสัมพันธ์ภายในองค์กร เป็นแนวราบ มีการเชื่อมประสานการทำงานร่วมกันตามลักษณะกิจกรรมและอาจแบ่งตามพื้นที่ ที่มีลักษณะกิจกรรมแบบเดียวกัน หรือเสริมกัน มีการประสานการทำกิจกรรมร่วมกันบางอย่างของกลุ่มหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยกัน องค์กรหรือกลุ่มที่เข้าร่วมประสานกันต่างมีความเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน
“ชุมชน” หมายถึง ครอบครัวหลายครอบครัวมารวมอยู่ในที่เดียวกันชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาพื้น ฐานทางเศรษฐกิจชุมชน คือ ให้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” หมายถึง ศูนย์กลางการประสานงานการให้คำปรึกษาแนะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้บริการ ทางวิชาการข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาแหล่งทุน การตลาดเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน
“คณะ กรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอเมืองสุรินทร์ “เศรษฐกิจชุมชน” หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งด้านเกษตรกร อุตสาหกรรม บริการ ทั้งในด้านการผลิต การบริโภค และการกระจายผลผลิต
หมวดที่ ๒ ว่าด้วยวัตถุประสงค์
ข้อที่ ๔ ศูนย์ฯ ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
๔.๑ สนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ และแหล่งทุน
๔.๒ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ข้อที่ ๕ คณะทำงานที่ปรึกษาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอเมืองสุรินทร์ ประกอบด้วย นายอำเภอเมืองสุรินทร์ และหัวหน้าส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการพัฒนาชุมชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
ข้อที่ 6 การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการและคณะทำงาน
6.๑ ตาย
6.๒ ลาออก
6.๓ ย้ายไปดำรงตำแหน่งสังกัดอำเภออื่น
6.๔ กรรมการ ๓ ใน ๔ มีมติให้ออก
6.๕ ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย
6.๖ วิกลจริต
6.๗ ออกตามวาระ
หมวดที่ ๔ ว่าด้วยการประชุมและองค์ประชุม
ข้อที่ ๘ ว่าด้วยการประชุมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการ/คณะทำงาน
๘.๑ จัดประชุมตามวาระ อย่างน้อย 2 เดือน/๑ ครั้ง
๘.๒ คณะกรรมการ/คณะทำงาน ๑ ใน ๓ เข้าชื่อให้จัดประชุมตามความจำเป็นในภารกิจ
๘.๓ เลขานุการคณะกรรมการ/คณะทำงาน เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการประสานงานค
๘.๔ การประชุมของคณะกรรมการศูนย์ฯ ต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม
๘.๕ ให้ประธานเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ กรณีประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานมอบอำนาจให้รองประชุม ประธานตามลำดับความเหมาะสม
หมวดที่ ๕ ว่าด้วยทุน
ข้อที่ ๙ การจัดหาทุนของศูนย์ฯ
๙.๑ การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน
๙.๒ การบริจาค
๙.๓ อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
หมวดที่ ๖ ว่าด้วยการให้บริการ
ข้อที่ ๑๐ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอเมืองสุรินทร์ มีหน้าที่ให้การสนับสนุนชุมชน ดังนี้
๑๐.๑ เป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษาแนะนำและให้บริการทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ด้านการผลิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ เทคโนโลยี การตลาด และแหล่งทุน เพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน
๑๐.๒ เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต การตลาด การบริหารจัดการทุน รวมทั้งการพัฒนาอาชีพและรายได้ระหว่างครัวเรือน กลุ่มองค์กรเครือข่ายและชุมชนในระดับอำเภอ
๑๐.๓ เป็นศูนย์ประสานงานกิจกรรมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่
– ให้บริการข้อมูล หลักเกณฑ์ แนวทางในการลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และการคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP
๑๐.๔ เป็นศูนย์กลางจัดการความรู้ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนในระดับอำเภอ โดยเชื่อมโยงความรู้และกิจกรรมกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนทุกระดับ
ข้อที่ ๑๑ รูปแบบการให้บริหารของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากในระดับอำเภอ
๑๑.๑ ให้บริการ ณ จุดที่ศูนย์ฯ หรือสถานที่ที่เหมาะสม
๑๑.๒ ให้บริการโดยจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ตามความต้องการของชุมชนหรือตามสถานการณ์เร่งด่วน
หมวดที่ ๗ ว่าด้วยการทำข้อตกลงความร่วมมือ
ข้อที่ ๑๒ การดำเนินการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานคณะกรรมการศูนย์ บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากระดับอำเภอ เพื่อเป็นการบูรณาการ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนและเครือข่ายองค์ความรู้ KBO ในการขับเคลื่อนศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอเมืองสุรินทร์ ศูนย์กลางให้คำปรึกษาแนะนำและให้บริการทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ด้านการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ เทคโนโลยี การตลาด และแหล่งทุน เพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
หมวดที่ 8 ว่าด้วยการแก้ไขข้อบังคับ
ข้อที่ ๑๓ สามารถแก้ไขได้โดยคณะกรรมการ จำนวน ๓ ใน ๔ ร้องขอต่อประธานคณะกรรมการฯ
ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2559