โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
ความเป็นมาในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) |
ในปี 2533 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พบว่า คนจนมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ในเขตชนบท และจากข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน กชช.2 ค ยังบ่งบอกว่า มีหมู่บ้านล้าหลัง หรือหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 อยู่จำนวน 11,608 หมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทย จึงกำหนดดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 1 (ปี 2536 – 2540) จำนวน 11,608 หมู่บ้าน โดยมอบให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ เพื่อตอบสนองนโยบายการกระจายรายได้ และความเจริญ ไปสู่ส่วนภูมิภาค กระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมาย มีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนยากจนให้ดีขึ้น ตามเกณฑ์ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(จปฐ.) ผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง คนยากจนได้มีโอกาสสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสามารถบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดีพบว่าจำนวนคนยากจนยังกระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทอีกจำนวนมาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบในหลักการโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2 (ปี 2540-2545) จำนวน 28,038 หมู่บ้าน โดยดำเนินการในหมู่บ้านที่มีครัวเรือนยากจนมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2539 เพื่อขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านที่ยังไม่ได้ดำเนินการในระยะที่ 1 ในปี 2544 ยังคงเหลือเป้าหมายอีกจำนวน 10,412 หมู่บ้าน ที่ยังไม่ได้รับงบประมาณ และรัฐบาลได้มีนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อสนับสนุนเงินทุน ให้แก่หมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการ กข.คจ. จึงมิได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการต่อไป แต่เป็นการสนับสนุน ให้หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุน เงินกองทุนโครงการ กข.คจ.ไปแล้ว ได้มีการพัฒนาคุณภาพของกองทุน ให้เข้มแข็ง และสามารถหมุนเวียนในหมู่บ้าน เพื่อขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไป
หลักการของโครงการ กข.คจ. วัตถุประสงค์ของโครงการ กข.คจ. การบริหารจัดการโครงการ กข.คจ. อำนาจหน้าที่ การบริหารโครงการ กข.คจ.ระดับหมู่บ้าน คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.
ระดับครัวเรือน
บริหารจัดการเงินทุน 280,000 บาท ตามโครงการ กข.คจ. ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติ จำนวน 17 ขั้นตอน 4.1 คณะกรรมการ กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน เปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้ |
การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) |
ความเป็นมาแนวคิดและหลักการ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เป็นโครงการของรัฐที่มุ่งยกระดับรายได้ของครัวเรือนที่มีฐานยากจน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ของประชาชนในหมู่บ้านตามเกณฑ์ จปฐ.ยุทธวิธีดำเนินงาน ดำเนินงานในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับหนึ่ง ตามแบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน กชช.2 โดยให้มีการพัฒนาใน 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เน้นการพัฒนาครัวเรือยากจน (มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน) ที่อยู่ในหมู่บ้านเป้าหมายให้มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและพ้นขีดความยากจน ส่วนที่สอง เน้นการพัฒนาหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านให้ผ่านเกณฑ์ จปฐ.เงินทุนโครงการ กข.คจ. เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล หมู่บ้านละ 280,000 บาท เพื่อให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย ขอยืมไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ โดยไม่คิดดอกเบี้ย อาชีพที่สามารถเสนอเพื่อยืมเงินได้ 1. เกษตรกรรม 2. อุตสาหกรรมในครัวเรือน 3. ค้าขาย 4. งานช่าง 5. อื่น ๆ ตามที่ กม.เห็นชอบข้อห้ามการใช้เงิน 1. ห้ามนำไปใช้หนี้ที่มีอยู่เดิม 2. ห้ามนำไปบูรณะซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 3. ห้ามนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวการเก็บรักษาเงินทุน เปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารพาณิชย์ ชื่อบัญชี “บัญชีเงินฝากคณะกรรมการหมู่บ้าน (ระบุชื่อบ้าน) หมู่ที่…………ตำบล…………อำเภอ……….จังหวัด……….ตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน”ผู้มีสิทธิขอยืมเงิน 1. หัวหน้าครัวเรือน 2. ผู้แทนหัวหน้าครัวเรือน ซึ่งต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของครัวเรือนเป้าหมายการพิจารณาวงเงินยืม 1. เป็นอาชีพที่เหมาะสมและเป็นไปได้ 2. เป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ 3. มีความสามารถใช้คืนเงินยืมตามสัญญาการอนุมัติเงินยืม คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ และอนุมัติเงินยืมการเบิกจ่ายเงินยืม คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้านโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของหัวหน้าครัวเรือนเต็มจำนวนที่ได้รับอนุมัติให้ยืมและออกใบรับเงินยืมของครัวเรือน |
แนวทางการดำเนินงาน
อำเภอป่าพะยอม ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 24 หมู่บ้านๆละ ๒๘๐,๐๐๐๐ บาท ดังนี้
๑. ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๓๖ จำนวน 2 หมู่บ้าน
๒. ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๓๗ จำนวน ๒ หมู่บ้าน
๓. ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๓๘ จำนวน 1 หมู่บ้าน
๔. ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๔0 จำนวน 1 หมู่บ้าน
๕. ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๔๒ จำนวน ๑ หมู่บ้าน
๖. ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๔๓ จำนวน 1 หมู่บ้าน
๗. ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี ๒๕๔๔ จำนวน 15 หมู่บ้าน
๑. ตำบลป่าพะยอม จำนวน 5 หมู่บ้าน
1.1บ้านป่าพะยอม หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพะยอม
1.2บ้านประดู่หอม หมู่ที่ 4 ตำบลป่าพะยอม
1.3บ้านนาทราย หมู่ที่ 5 ตำบลป่าพะยอม
1.4บ้านโคกกอ หมู่ที่ 6 ตำบลป่าพะยอม
1.5บ้านไสกุน หมู่ที่ 7 ตำบลป่าพะยอม
๒. ตำบลลานข่อย จำนวน 5 หมู่บ้าน
2.1บ้านลานข่อย หมู่ที่ 1 ตำบลลานข่อย
2.2บ้านห้วยหลุด หมู่ที่ 2 ตำบลลานข่อย
2.3บ้านทุ่งชุมพล หมู่ที่ 3 ตำบลลานข่อย
2.4บ้านห้วยเรียน หมู่ที่ 4 ตำบลลานข่อย
2.5บ้านถ้ำลา หมู่ที่ 5 ตำบลลานข่อย
๓. ตำบลเกาะเต่า จำนวน 7 หมู่บ้าน
3.1บ้านโหล๊ะท่อม หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะเต่า
3.2บ้านบางหล่อ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะเต่า
3.3บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะเต่า
3.4บ้านไสเลียบ หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะเต่า
3.5บ้านควนตะแบก หมู่ที่ 9 ตำบลเกาะเต่า
3.6บ้านห้วยปริง หมู่ที่ 10 ตำบลเกาะเต่า
3.7บ้านห้วยไม้ไผ่ หมู่ที่ 12 ตำบลเกาะเต่า
๔. ตำบลบ้านพร้าว จำนวน 7 หมู่บ้าน
4.1 บ้านพร้าว หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว
4.2 บ้านตลิ่งชัน หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านพร้าว
4.3 บ้านศาลาน้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านพร้าว
4.4 บ้านบ่อทราย หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านพร้าว
4.5 บ้านไสอ้อ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านพร้าว
4.6 บ้านหาดสูง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านพร้าว
4.7 บ้านหน้าป่า หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านพร้าว
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ.
อำเภอป่าพะยอม ประจำปี ๒๕๖๐
- ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนโครงการ กข.คจ.
- โครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ทุกระดับ
- ตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ.
- ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานกองทุน กข.คจ.
- ติดตาม ประเมิน และสรุปผลการดำเนินงานกองทุน กข.คจ. คัดเลือกกองทุนต้นแบบ
หมู่บ้านเป้าหมายยังมีความจำเป็นที่จะเก็บรักษาเงินกองทุนไว้ที่หมู่บ้าน
หมู่บ้านเป้าหมายยังมีความจำเป็นที่จะเก็บรักษาเงินกองทุนไว้ที่หมู่บ้าน เนื่องยังมีครัวเรือนที่ต้องการใช้เงินโครงการ กข.คจ. อีกมาก
ปัญหา/อุปสรรคการดำเนินงาน
- การบริหารโครงการ กข.คจ. ของคณะกรรมการด้านการบริหารจัดกาบางคนไม่ค่อยปฏิบัติหน้าที่
- การขาดวินัยทางการเงินของครัวเรือนเป้าหมาย
- ศูนย์ปฏิบัติการโครงการ กข.คจ. ประจำหมู่บ้านไม่ชัดเจน เอกสารจึงไม่ค่อยเป็นระบบ
- เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนขาดการติดตามผลและการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน
๑. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนโครงการ กข.คจ.
๒. จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ทุกระดับ
๓. จัดประชุมเพิ่มประสิทธิภาพตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ.
๔. การเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุน กข.คจ.
- ติดตาม ประเมิน และสรุปผลการดำเนินงานกองทุน กข.คจ.
- คัดเลือกกองทุนโครงการ กข.คจ. ต้นแบบ
คู่มือการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)00000030