งานอาสาพัฒนาชุมชน เป็นงานที่แสดงถึงความเสียสละความสุขสบายหรือประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่พึงจะเกิดขึ้นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล
ความเป็นมาอาสาพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2512 ครม. มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2512 โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
พ.ศ. 2512 ทดลองดำเนินการในจังหวัดสกลนครและกาฬสินธุ์ รวม 100 คน
พ.ศ. 2515 ขยายการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนา ชุมชนออกไปทุกจังหวัด (70 จังหวัดในขณะนั้น)
พ.ศ. 2519 ขยายการดำเนินงานออกไปในทุกตำบลที่เปิดเขตพัฒนา
พ.ศ. 2525 ให้คัดเลือกอาสาพัฒนาชุมชนที่เป็นสตรีเพิ่มขึ้น หมู่บ้านละ 1 คน รวมเป็น อช. หมู่บ้านละ 2 คน ครบทุกหมู่บ้านส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมอาสาพัฒนาชุมชน และจัดตั้งสมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย จดทะเบียน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 ที่ตั้งศูนย์ฝึกอบรมการพัฒนาชุมชน ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก
พ.ศ. 2547 ใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอาสาพัฒนาชุมชน พ.ศ.2547 เพิ่ม อช.หมู่บ้านละไม่น้อยกว่า 4 คน และผู้นำ อช. ตำบลละ 2 คน โดยคำนึงถึงจำนวนสัดส่วนชายหญิงใกล้เคียงกัน โดยผู้นำอช.ได้รับค่าตอบแทนปีละ 4 งวด (รอบไตรมาส)งวดละ500 บาท/คน จำนวน อช./ผู้นำอช.
(พ.ศ.2549-2550) จำนวน อช. 276,192 คน ผู้นำ อช. 13,550 คน และผู้นำ อช.ที่ผ่านระบบมาตรฐานงานชุมชน พ.ศ.2547–2549 จำนวน 2,214 คน
ภารกิจตามนโยบายที่กรมการพัฒนาชุมชนมอบหมาย
1. งานด้านเศรษฐกิจ
– โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน ร่วมใจปฏิบัติการแก้จน ตามแนว 4ท สู่ 3พ โดยการเคาะประตูบ้าน 1,007,000 ครัวเรือน
– ชุดปฏิบัติการขับเคลื่อน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ให้เป็นรากฐานของชีวิตประชาชนในหมู่บ้าน
2. งานด้านสังคม
– การส่งเสริมประชาธิปไตยร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้งปี 2542 รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย ตรวจสอบการเลือกตั้ง
– สนับสนุนการเข้าร่วมอาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย ตามโครงการการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
3. งานด้านสิ่งแวดล้อม
– ร่วมกับมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ส่งเสริมกิจกรรมหมู่บ้านเขียวขจีดีเด่น โดยเริ่มในปี 2534 มีโครงการความร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมและพัฒนาอาสาสมัครด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิทธิและหน้าที่ของ อช. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
– กระตุ้นให้องค์กรประชาชน รู้สภาพปัญหาของหมู่บ้าน และสามารถวางแผนงานเพื่อแก้ปัญหาได้เอง รวมถึงกระตุ้นให้ประชาชนรู้จักช่วยตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา หมู่บ้านของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– ริเริ่มและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา โดยเป็นที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มอาสาสมัคร ตลอดจนองค์กรประชาชน และกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ
– ช่วยเหลือสนับสนุน การดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน
– เป็นผู้ประสานระหว่างองค์กรประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือเอกชนอื่น ๆ
– ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่เวทีประชาคม คณะกรรมการหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล หรือทางราชการมอบหมาย
สิทธิและหน้าที่ของ ผู้นำ อช. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
– มีหน้าที่เช่นเดียวกันกับ อช.และ
– เป็นผู้ประสานงานระหว่าง อช.ในตำบล
– เป็นผู้แทนของ อช.ในกิจกรรมต่างๆที่ได้รับมอบหมาย
อาสาพัฒนาชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ออาสาพัฒนาชุมชน คืออาสาพัฒนาชุมชนที่ได้รับคัดเลือกจากเรียกชื่อย่อว่า “อช.” มีจำนวนหมู่บ้านละอย่างน้อย 4 คน โดยให้มีจำนวนหญิงชายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
2. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน คือ อาสาพัฒนาชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกจากเวทีประชาคมอาสาพัฒนาชุมชน เพื่อให้ปฏิบัติงานอาสาสมัครในฐานะผู้นำของอาสาพัฒนาชุมชนในตำบลหนึ่ง เรียกชื่อย่อว่า “ผู้นำ อช.” มีจำนวน 2 คน (ชาย 1 คน หญิง 1 คน)
» เครื่องหมาย อช./ผู้นำ อช. และบัตรประจำตัว
ตราสัญลักษณ์ อช. และผู้นำ อช.
หมายเหตุ : พื้นเครื่องหมายสีน้ำเงินเข้ม (กรมท่า) ขนาด 4X6 ซม. ทั้ง 2 แบบ มีตราสัญลักษณ์กรมการพัฒนาชุมชนตรงส่วนบนที่โค้งมน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ซม.มีตัวอักษร อช. หรือ ผู้นำ อช. สีเหลืองทองตรงส่วนล่าง ขนาด 1 ซม.
เข็มเชิดชูเกียรติผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่น
หมายเหตุ : เข็มเชิดชูเกียรติผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่น ทำด้วยโลหะชุบทองมีลักษณะเป็นรูปหยดน้ำ ความสูงขนาด 3.2 เซนติเมตร
มีรูปตราสัญลักษณ์กรมการพัฒนาชุมชนสีทองอยู่ตรงกลาง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร มีรวงข้าว 2 รวง
สีทองโน้มไปบรรจบกันที่ส่วนบนของรูปหยดน้ำ อักษรผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นเป็นสีทอง พื้นสีน้ำเงินอยู่ส่วนกลาง
เป็นฐานของรูปหยดน้ำ
บัญชีรายชื่อผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) | |||||||
ประจำปี 2558 – 2561 | |||||||
อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง | |||||||
ลำดับที่ | ชื่อ – สกุล | ตำแหน่ง | ที่อยู่ | ||||
บ้านเลขที่ | หมู่ที่ | ตำบล | |||||
1 | นายชัยยุท | อภัยรัตน์ | ผู้นำ อช.ตำบลป่าพะยอม | 226 | 4 | ป่าพะยอม | |
2 | นางกิจจา | ชาตรี | ผู้นำ อช.ตำบลป่าพะยอม | 36 | 7 | ป่าพะยอม | |
3 | นายปรีชา | เกิดวัน | ผู้นำ อช.ตำบลลานข่อย | 108 | 1 | ลานข่อย | |
4 | นางพรทิพย์ | ใบสุข | ผู้นำ อช.ตำบลลานข่อย | 167 | 3 | ลานข่อย | |
5 | นายไพโรจน์ | สุวรรณรัตน์ | ผู้นำ อช.ตำบลเกาะเต่า | 169 | 4 | เกาะเต่า | |
6 | นางสำรวย | ลายทิพย์ | ผู้นำ อช.ตำบลเกาะเต่า | 67 | 1 | เกาะเต่า | |
7 | นายวิทยา | เรืองเดช | ผู้นำ อช.ตำบลบ้านพร้าว | 48 | 5 | บ้านพร้าว | |
8 | นางอุบลรัตน์ | อักษรทอง | ผู้นำ อช.ตำบลบ้านพร้าว | 52 | 4 | บ้านพร้าว | |
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอาสาพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอาสาพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
คู่มือสนับสนุนการปฏิบัติงาน-ผู้นำ-อช