ประวัติอำเภอเมืองราชบุรี
อำเภอเมืองราชบุรี เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเรียกว่า “ เมืองราชบุรี” มีฐานะเป็นมณฑลราชบุรี อันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร “ทวาราวดี” ของชนชาติลาว นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีชาวอินเดียและเขมรได้มาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในเมืองนี้ ทั้งชื่อเมืองราชบุรีนี้ ก็ปรากฏว่าได้นำเอาชื่อเมืองไทยในอินเดียมาตั้งเป็นชื่อเมืองขึ้น เล่าต่อๆ กันมาว่า เมืองราชบุรีนี้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกษัตริย์ ผู้ปกครองมัชฌิมประเทศเป็น ผู้สร้างเมื่อพุทธศักราช 210 ฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของมัชฌิมประเทศ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ (เดิมชื่อตำบลอู่เรือ) อำเภอเมืองราชบุรี ในปัจจุบัน ต่อมาเมืองราชบุรี ได้ร้างไปประมาณ 300 – 400 ปี ภายหลังพระเจ้าอู่ทอง (เจ้าเมืองอู่ทอง) ได้สร้างเมืองราชบุรีขึ้นใหม่ที่วัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2360 (ร.ศ.36) ในรัฐสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าให้ย้ายเมืองราชบุรี มาตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองคือทั้งจังหวัดทหารบก ครั้นปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ.116) ได้เริ่มจัดระเบียบการปกครองท้องที่มีข้าหลวงเทศาภิบาลขึ้น จึงได้ย้ายเมืองราชบุรี มาตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดราชบุรี (หลังเก่า)
การจัดปกครอง ท้องที่ในครั้งนั้น ได้แบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็น 5 อำเภอ เฉพาะอำเภอเมืองราชบุรี เดิมตั้งอยู่ ที่ตำบลธรรมมาเสนอำเภอโพธารามห่างจากที่ตั้งตัวอำเภอเมืองปัจจุบันขึ้นไปทางเหนือประมาณ 350 เส้น ในครั้งนั้นจึงเรียกว่า “แขวง” ต่อมา พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117) จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลธรรมมาเสน มาตั้งที่ ถนนอัมรินทร์ตำบลหน้าเมือง ครั้นต่อมาบริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เป็นศูนย์การค้าจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ไปปลูกสร้างที่ถนนอำเภอ (ติดกับศาลากลางจังหวัดราชบุรี) ตั้งแต่ปี 2517 จนถึงปัจจุบัน
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองราชบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 22 ตำบล 187 หมู่บ้าน 35 ชุมชน
1. | หน้าเมือง | (Na Mueang) | 12. | น้ำพุ | (Nam Phu) | ||||||
2. | เจดีย์หัก | (Chedi Hak) | 13. | ดอนแร่ | (Don Rae) | ||||||
3. | ดอนตะโก | (Don Tako) | 14. | หินกอง | (Hin Kong) | ||||||
4. | หนองกลางนา | (Nong Klang Na) | 15. | เขาแร้ง | (Khao Raeng) | ||||||
5. | ห้วยไผ่ | (Huai Phai) | 16. | เกาะพลับพลา | (Ko Phlapphla) | ||||||
6. | คุ้งน้ำวน | (Khung Nam Won) | 17. | หลุมดิน | (Lum Din) | ||||||
7. | คุ้งกระถิน | (Khung Krathin) | 18. | บางป่า | (Bang Pa) | ||||||
8. | อ่างทอง | (Ang Thong) | 19. | พงสวาย | (Phong Sawai) | ||||||
9. | โคกหม้อ | (Khok Mo) | 20. | คูบัว | (Khu Bua) | ||||||
10. | สามเรือน | (Sam Ruean) | 21. | ท่าราบ | (Tha Rap) | ||||||
11. | พิกุลทอง | (Phikun Thong) | 22. | บ้านไร่ | (Ban Rai) |
บทบาทหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
บริหารงานพัฒนาชุมชนและการบริหารการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้องในอำเภอให้เป็นไปตามนโยบายของอำเภอจังหวัด กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาล ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการส่งเสริมศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติงานประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนจัดทำศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนระดับอำเภอจัดเก็บและหรือประสาน การจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนรวบรวมและทำแผนงาน/โครงการของอำเภอในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและให้บริการองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนในการบริหารและดำเนินงานเกี่ยวกับ ระบบข้อมูลและแผนงาน/โครงการ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบัญงานธุรการทั่วไปงานการเจ้าหน้าที่ งานงบประมาณการเงินและบัญชี งานประชาสัมพันธ์และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย