วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ พันธกิจ
วิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔
“เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี ๒๕๖๔”
กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทำให้มีความง่าย ท้าทาย และเป็นไปได้ในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย นโยบายของรัฐบาล สถานการณ์สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อให้บุคลากรทุกคน ใช้เป็นกรอบทิศทางการปฏิบัติงาน โดยสามารถกำหนดรูปแบบ นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม และกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้ปี ๒๕๖๐ ขับเคลื่อนวาระกรมการพัฒนาชุมชน (Agenda) เพื่อมุ่งมั่นว่ากรมการพัฒนาชุมชน พร้อมขับเคลื่อน สัมมาชีพชุมชนเข้มแข็งภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน อย่างมีความสุข”
ยุทธศาสตร์ชาติ : กรอบการพัฒนาระยะยาว
โครงสร้างองค์กร
กรมการพัฒนาชุมชนแบ่งโครงสร้างของหน่วยงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบาย สนับสนุน และกำกับดูแลการดำเนินงาน ประกอบด้วยหน่วยงานภายใน 5หน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก 12 หน่วยงาน คือ
ราชการบริหารส่วนกลาง 12 หน่วยงาน คือ
- สำนักงานเลขานุการกรม
- สำนักตรวจราชการ
- กองการเจ้าหน้าที่
- กองคลัง
- กองแผนงาน
- ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
- สถาบันการพัฒนาชุมชน
- สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน
- สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน
- สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
หน่วยงานภายใน 5 หน่วยงาน คือ
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กองประชาสัมพันธ์
- ศูนย์ประสานราชการจังหวัดชายแดนใต้ กรมการพัฒนุมชน (ศปก.จชต.พช.)
- กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน
- สหกรณ์ออมทรัพย์
ราชการบริหารส่วนภูมิภาคทำหน้าที่ดำเนินงานพัฒนาชุมชน ประสานการดำเนินงานพัฒนาชุมชนกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จำนวน ๗๖ แห่ง และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ๘๗๘ แห่ง
อัตรากำลัง
กรมการพัฒนาชุมชนมีบุคลากร ณ เดือนตุลาคม 2559 จำนวนทั้งสิ้น 6,534 คน แบ่งเป็น ข้าราชการ จำนวน 6,347 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 130 คน และพนักงานราชการ จำนวน 57 คน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในส่วนกลาง จำนวน 543 คน และปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค จำนวน 5,991 คน