ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (ปี 2560 – 2564)
กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจในการส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง โดย
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างงานสร้าง รายได้ให้แก่ชุมชนเชื่อมโยงไปสู่การดำเนินงานโครงการ OTOP ซึ่ง
ในฐานะที่กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ดำเนินการส่งเสริมการดำเนินงาน OTOP
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) เป็นคณะอนุกรรมการพัฒนาการการตลาด รวมทั้งเป็นคณะอนุกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม คณะอนุกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะอนุกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึก คณะอนุกรรมการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร และเป็นอนุกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาค
พัฒนาการจังหวัดเป็นอนุกรรมการ/เลขานุการในคณะอนุกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด
ตามคำสั่งคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) พ.ศ. 2556
ยุทธศาสตร์การพัฒนา OTOP
ดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับองค์ความรู้
สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง โดยมียุทธศาสตร์ดังนี้
จัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม
๑. อนุรักษ์ สืบสาน สร้างมูลค่าเพิ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒. พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว
๓. พัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในระบบออนไลน์
๔. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เวทีโลก)
พัฒนากลไกการขับเคลื่อน เศรษฐกิจฐานราก
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
๒. จัดตั้งและพัฒนาสถาบันส่งเสริมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (OTOP Academy)
๓. ส่งเสริมเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
๔. เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย OTOP ในทุกระดับ
๕. สร้างและพัฒนาเครือข่าย OTOP Trader
๖. เพิ่มประสิทธิภาพคณะอนุกรรมการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด/อำเภอ ในการขับเคลื่อนงาน OTOP
ยกระดับผู้ผลิต ผู้ประกอบการสู่ความเป็นมืออาชีพ
- พัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่
- เสริมสร้างจิตสำนึกการเป็นผู้ประกอบการที่ดี
- เพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการแบบมืออาชีพ – ด้านการบริหารจัดการ – ด้านการออกแบบ/รูปแบบ/บรรจุภัณฑ์ – ด้านการตลาด – ด้านการจัดท้าแผนธุรกิจ – ด้านการเข้าถึงแหล่งทุน – ด้านการสร้างนวัตกรรม
- พัฒนากลุ่มอาชีพใหม่
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
๑. พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ ๑ – ๓ ดาว/กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสู่สากล
๒. พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Cluster)
ส่งเสริมช่องทางการตลาด
๑. ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้
๒. OTOP ภูมิภาค
๓. OTOP TO THE TOWN
๔. สร้างและพัฒนามาตรฐานตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้
๕. ตลาดใหม่ – OTOP ๑ – ๓ ดาว – ร้านค้าประชารัฐ – OTOP Trader – OTOP Co–brand
6.ตลาดระดับประเทศ (OTOP City, OTOP Midyear, ศิลปาชีพฯ, ศูนย์จาหน่าย OTOP)
7.ตลาดใหม่
– การตลาดดิจิทัล
– Online, E-commerce
– OTOP To The Factory
8.สร้างอัตลักษณ์และประชาสัมพันธ์ตลาดหมู่บ้านOTOP เพื่อการท่องเที่ยว/แหล่งท่องเที่ยว
- สานสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- ตลาดใหม่
– ตลาดชายแดน
– OTOP ขึ้นเครื่องบิน
- พัฒนาเว็บไซต์กลางซื่อขายผลิตภัณฑ์ระดับ ๔-๕ ดาว