เมืองพ่อสีหราช สวยสะอาดด้วยน้ำใจ เลื่องลือไกลผ้าลายขิต ถิ่นผลิตอ้อยหวาน ทุกหมู่บ้านพัฒนา

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเมยวดีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 43 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | หมู่บ้าน | ประชากร [a] [3] |
---|---|---|---|---|
1 | เมยวดี | Moei Wadi | 11 | 5,734 |
2 | ชุมพร | Chumphon | 14 | 8,130 |
3 | บุ่งเลิศ | Bung Loet | 9 | 4,932 |
4 | ชมสะอาด | Chom Sa-at | 9 | 4,339 |
รวม | 43 | 23,135 |
- ↑ ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2562
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเมยวดีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลชุมพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมพรทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเมยวดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมยวดีทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่งเลิศทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลชมสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชมสะอาดทั้งตำบล
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเมยวดีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์ (จังหวัดกาฬสินธุ์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองพอก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองพอกและอำเภอโพนทอง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพนทอง
ประวัติ[แก้]
อำเภอเมยวดี ตั้งอยู่บ้านใหม่สถานี หมู่ที่ 6 ตำบลเมยวดี เดิมเป็นทุ่งนาป่าละเมาะ นายบุญตา มูลศรีแก้ว ได้จัดซื้อที่นาเหล่านี้ แล้วจัดแบ่งให้ทางราชการเพื่อสร้างเป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอ สถานีตำรวจ สถานีอนามัย โรงเรียน วัด และบริเวณที่ตั้งตลาดสด เป็นต้น
นายบุญตา มูลศรีแก้วได้ยื่นร้องขอตั้งกิ่งอำเภอเมยวดี โดยแยกจากอำเภอโพนทองเมื่อ พ.ศ.2506 แต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2521 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง “แบ่งท้องที่อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด” ตั้งเป็น กิ่งอำเภอเมยวดี ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2521 ลงนามโดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีเขตการปกครอง 2 ตำบล คือ ตำบลชุมพรและตำบลเมยวดี [1] เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว สถานที่ราชการยังไม่มี นายบุญพ่วง ถนัดค้า ให้บ้านส่วนตัวเป็นสถานที่ทำงานของกิ่งอำเภอ และส่วนราชการต่างๆ