ความเป็นมาในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) |
ความเป็นมาในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.) ในปี 2533 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พบว่า คนจนมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ในเขตชนบท และจากข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน กชช.2 ค ยังบ่งบอกว่า มีหมู่บ้านล้าหลัง หรือหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 อยู่จำนวน 11,608 หมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทย จึงกำหนดดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 1 (ปี 2536 – 2540) จำนวน 11,608 หมู่บ้าน โดยมอบให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ เพื่อตอบสนองนโยบายการกระจายรายได้ และความเจริญ ไปสู่ส่วนภูมิภาค กระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมาย มีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนยากจนให้ดีขึ้น ตามเกณฑ์ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(จปฐ.) ผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง คนยากจนได้มีโอกาสสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสามารถบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดีพบว่าจำนวนคนยากจนยังกระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทอีกจำนวนมาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบในหลักการโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2 (ปี 2540-2545) จำนวน 28,038 หมู่บ้าน โดยดำเนินการในหมู่บ้านที่มีครัวเรือนยากจนมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2539 เพื่อขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านที่ยังไม่ได้ดำเนินการในระยะที่ 1 ในปี 2544 ยังคงเหลือเป้าหมายอีกจำนวน 10,412 หมู่บ้าน ที่ยังไม่ได้รับงบประมาณ และรัฐบาลได้มีนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อสนับสนุนเงินทุน ให้แก่หมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการ กข.คจ. จึงมิได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการต่อไป แต่เป็นการสนับสนุน ให้หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุน เงินกองทุนโครงการ กข.คจ.ไปแล้ว ได้มีการพัฒนาคุณภาพของกองทุน ให้เข้มแข็ง และสามารถหมุนเวียนในหมู่บ้าน เพื่อขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไป หลักการของโครงการ กข.คจ. การบริหารจัดการโครงการ กข.คจ. อาจไม่มีรูปแบบตายตัวในทุกประการขึ้นอยู่กับศักยภาพของ แต่ละหมู่บ้าน แต่อย่างไรก็ตาม เป็นการบริหารจัดการภายใต้หลักการดำเนินงาน ดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชนและประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ 2. การใช้ข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมายจากการจัดเก็บและตรวจสอบขององค์กรประชาชน ในหมู่บ้าน 3. การมอบอำนาจและหน้าที่ ความรับผิดชอบให้องค์กรประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย คือ คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน ซึ่งเลือกตั้งโดยครัวเรือนยากจน เป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียนคงอยู่ในหมู่บ้านตลอดไป โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินงานกองทุน กข.คจ.ให้มีประสิทธิภาพ 4. สนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพแก่ครัวเรือนจากจนเป้าหมาย หมู่บ้านละ 280,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ยวัตถุประสงค์ของโครงการ กข.คจ. 1. กระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ 2. พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากจนให้ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) การบริหารจัดการโครงการ กข.คจ. อำนาจหน้าที่ การบริหารโครงการ กข.คจ. ระดับหมู่บ้าน คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.
ระดับครัวเรือน
บริหารจัดการเงินทุน 280,000 บาท ตามโครงการ กข.คจ. ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติ จำนวน 17 ขั้นตอน 4.1 คณะกรรมการ กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน เปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้ |
การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) |
ความเป็นมาแนวคิดและหลักการ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เป็นโครงการของรัฐที่มุ่งยกระดับรายได้ของครัวเรือนที่มีฐานยากจน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ของประชาชนในหมู่บ้านตามเกณฑ์ จปฐ.ยุทธวิธีดำเนินงาน ดำเนินงานในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับหนึ่ง ตามแบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน กชช.2 โดยให้มีการพัฒนาใน 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เน้นการพัฒนาครัวเรือยากจน (มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน) ที่อยู่ในหมู่บ้านเป้าหมายให้มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและพ้นขีดความยากจน ส่วนที่สอง เน้นการพัฒนาหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านให้ผ่านเกณฑ์ จปฐ.เงินทุนโครงการ กข.คจ. เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล หมู่บ้านละ 280,000 บาท เพื่อให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย ขอยืมไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ โดยไม่คิดดอกเบี้ย อาชีพที่สามารถเสนอเพื่อยืมเงินได้ 1. เกษตรกรรม 2. อุตสาหกรรมในครัวเรือน 3. ค้าขาย 4. งานช่าง 5. อื่น ๆ ตามที่ กม.เห็นชอบข้อห้ามการใช้เงิน 1. ห้ามนำไปใช้หนี้ที่มีอยู่เดิม 2. ห้ามนำไปบูรณะซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 3. ห้ามนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวการเก็บรักษาเงินทุน เปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารพาณิชย์ ชื่อบัญชี “บัญชีเงินฝากคณะกรรมการหมู่บ้าน (ระบุชื่อบ้าน) หมู่ที่…………ตำบล…………อำเภอ……….จังหวัด……….ตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน”ผู้มีสิทธิขอยืมเงิน 1. หัวหน้าครัวเรือน 2. ผู้แทนหัวหน้าครัวเรือน ซึ่งต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของครัวเรือนเป้าหมายการพิจารณาวงเงินยืม 1. เป็นอาชีพที่เหมาะสมและเป็นไปได้ 2. เป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ 3. มีความสามารถใช้คืนเงินยืมตามสัญญาการอนุมัติเงินยืม คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ และอนุมัติเงินยืมการเบิกจ่ายเงินยืม คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้านโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของหัวหน้าครัวเรือนเต็มจำนวนที่ได้รับอนุมัติให้ยืมและออกใบรับเงินยืมของครัวเรือน |
โครงการ กข.คจ.
(Visited 29 times, 1 visits today)