อำเภอเชียรใหญ่มีประวัติความเป็นมาสืบทอดมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี แต่มีหลักฐานแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช จุลศักราช 1173 ว่า ท้องที่อำเภอนี้เป็นหัวเมืองฝ่ายขวา ขึ้นอยู่ในเขตปกครองท้องที่เมืองนครศรีธรรมราช ชื่อ เมืองพิเชียร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 ในปี พ.ศ. 2440 มีการรวมหัวเมืองฝ่ายขวาในลุ่มน้ำปากพนัง 4 หัวเมือง เข้าด้วยกัน คือ เมืองพิเชียร เมืองพนัง เมืองเบี้ยซัด (ที่ตั้งอำเภอปากพนังในปัจจุบัน) และที่ตรงตำบลคลองกระบือและตำบลหูล่อง ตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า "อำเภอเบี้ยซัด" ทำให้เมืองพิเชียรกลายเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเบี้ยซัด สำหรับที่ตั้งของเมืองพิเชียร สันนิษฐานว่า เดิมตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปากพนัง ที่บ้านหม่อมราม หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกลาง ณ ปัจจุบัน และเล่ากันว่า ที่ตั้งบ้านพิเชียร มีต้นตะเคียนใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกกันว่า "บ้านพิเชียรเคียนใหญ่" เรียกสั้น ๆ เป็นภาษาปักษ์ใต้ว่า บ้านเชียรใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้ง กิ่งอำเภอเชียรใหญ่ และยกฐานะเป็น อำเภอเชียรใหญ่ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเชียรใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
|
![]() |
สถานที่ท่องเที่ยว


บ้านดอนจิก นครศรีธรรมราช ตลาดน้ำอำเภอเชียรใหญ่
- แม่น้ำปากพนัง-คลองเชียร (วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น สองฝั่งคลอง)
- ตลาดริมน้ำอำเภอเชียรใหญ่
- วัดแม่เจ้าอยู่หัว (พระเจดีย์ศรีธรรมโศกราช และ พระนางเลือดขาว ) ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- ศาลหลวงต้นไทร ตำบลการะเกด (คลองชะอวด-แพรกเมือง)
- วัดเขาพระบาท ตำบลเขาพระบาท
- เขาแก้ววิเชียร (วัดเชียรเขา)
- โครงการหลวง ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- วัดเภาเคือง (พ่อท่านบุญมี)
- วัดเทพนิมิต (พ่อท่านหีด ถาวโร) ตำบลท้องลำเจียก
- วัดบางเนียน (พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ) ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- วัดปากเชียร ตำบลเชียรใหญ่
- บ้านดอนจิก บ้านบางเหลง บ้านหัวชด บ้านท้องลาน ตำบลท้องลำเจียก (ธรรมชาติทุ่งนา)
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ่อล้อ