สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจะนะ
ประวัติความเป็นมาอำเภอจะนะ
จะนะเดิมเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เมือง ได้แก่ ปะเหลียน จะนะ เทพา และสงขลา ต่อมา สงขลาได้แยกออกจากเมืองพัทลุง จะนะ จึงไปขึ้นกับเมืองสงขลา มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนใต้และมีการสู้รบกับหัวเมืองมลายูตลอดเวลา ขณะนี้เป็นเมืองขึ้นของพัทลุง เจ้าพระยาพัทลุง (บุน) ได้แต่งตั้งนายอินทร์ หรือเณรน้องชาย ไปเป็นเจ้าเมืองจะนะ มีพระราชทินนามว่า พระมหานุภาพปราบสงคราม ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าเมืองเป็นนักรบ เมืองจะนะ จึงน่าจะเป็นสมรภูมิรบ แต่ที่ตั้งเมืองจะนะในขณะนั้นคือ ที่นาทวีเมืองจะนะไปเป็นเมืองขึ้นของสงขลา เจ้าเมืองสงขลาได้แต่งตั้งให้นายฉิน บุตรของอดีตเจ้าเมืองสงขลา (โยม) ขึ้นเป็นขุนรองราชมนตรี คุมไพร่ส่วยดีบุก 9 หมวด ทำให้เมืองจะนะกับเมืองสงขลา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ในระยะที่พม่าส่งกองทัพใหญ่ลงไปตีหัวเมืองภาคใต้ ทั้งเจ้าเมืองจะนะและขุนรองราชมลตรีเมืองจะนะ ประสบชะตากรรม ถูกประหารชีวิต เนื่องจากกรมพระราชวังบวรนทสุรสีหนาถ ยกทัพจากรุงเทพมาปราบพม่าและหัวเมืองทางใต้ คือ ปัตตานี พบว่าเจ้าเมืองจะนะ ได้ลอบมีหนังสือไปถึงพม่าให้มาตีเมืองสงขลาและพัทลุง ส่วนขุนรองราชมนตรี มีความขัดเคืองกับพระสงขลาและได้ก่อกบฏพร้อมกับนายทหารทิดเพ็ชร ยึดเมืองสงขลาและสำเร็จราชการเองได้ ปฏิบัติงานประมาทปล่อยเชลยเมืองปัตตานีหลบหนีไป จะนะตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองสงขลา ได้มีเจ้าเมืองจะนะหลายคนผลัดกันขึ้นเป็นเจ้าตลอดเวลา มีแต่เรื่องการทำสงครามกับเมืองต่างๆ มีทั้งยกทัพไปรวมกับทัพสงขลาเพื่อไปรบพม่าร่วมมือกับหัวเมืองอื่น ไปตั้งรับทัพจากไทรบุรี จนกระทั่งเมืองจะนะ ถูกข้าศึกจากเมืองปัตตานีมาโจมตีเสียหายอย่างยับเยิน จะนะยังไม่ทันได้ฟื้นฟูบ้านเมืองจากการถูกเผา เมืองสงขลาก็แสวงหาผลประโยชน์จากเมืองจะนะ ในการรับเงินส่วยแทนกระดานทีละจำนวนมาก (แสดงให้เห็นว่าในอดีต คนจะนะต้องส่งส่วยกระดาน) นอกจากนี้ยังมีส่วนดีบุกและส่วนเสื่ออาสนะกันแชงเตย ที่คนจะนะต้องทำส่งอย่างไม่เป็นธรรม เจ้าเมืองจะนะได้วางเฉยเมืองสงขลาทวยส่วย อย่างบันทึกในใบบอกตอนหนึ่งว่า
ด้วยเงินส่วยดีบุกจะนะ 9 หมวด เสืออานะกันเชยเตย ปีชวด สัมฤทิศกข้าพเจ้าให้กรมการเร่งพระมหานุภาพปราบสงคราม พระจะนะให้ส่งเงินส่วยดีบุก 9 หมวด เสื่ออาสนะกันแชงเตยมายังเมืองสงขลา ข้าพเจ้าให้กรมการมีหนังสือเตือน พระมหานุภาพปราบสงครามพระจะนะถึง 3 ครั้ง พระมหานุภาพปราบสงคราม ก็ไม่ตอบหนังสือมาว่าประการใดสั่งกับผู้ถือมาว่า หลวงไชยสุรินทร์ กรมการเมืองสงขลาเก็บเรียกเงินส่วนกระดานที่ตัวไร่ส่วยดีบุกจะนะ 9 หมวดเสียแล้ว พระมหานุภาพปราบสงครามพระจะนะไม่มีเงินจะส่ง |
จะเห็นว่าเมืองจะนะ ไม่มีความสงบสุขมากนัก ต้องระมัดระวังศึกสงครามตลอดเวลาและชาวเมืองจะนะ ยังต้องทำงานเพื่อส่งสวยไปให้เมืองสงขลา แต่สิ่งที่ทำให้เมืองจะนะยืนหยัดเป็นเมืองอยู่ได้ด้วยความสามารถของคนจะนะ บางครั้งต้องยอมสยบ บางครั้งพยายามเรียกร้องอิสรภาพและดื้อแพ่งกบฏต่อความไม่เป็นธรรม ชาวจะนะน่าจะภูมิใจว่า อนึ่งที่ตั้งของเมืองจะนะนั้น มีการย้ายเมืองอยู่บ่อยๆ เนื่องจากเป็นเมืองที่ต้องทำการรบอยู่ตลอดเวลา ระยะแรกเชื้อว่าเมืองจะนะตั้งอยู่ที่ วังดาโต๊ะหรือวังโต้ ที่นาทวีปัจจุบันซึ่งอาจเป็นไปได้ เพราะเจ้าเมืองจะนะคนแรกคือ พระมหานุภาพปราบสงคราม (อินทร์หรือเณร) บุตรพระยาราชบังสันซึ่งเป็นมุสลิม ต่อมาได้ย้ายเมืองไปอยู่ที่ปลักจะนะ และย้ายไปอยู่ที่บ้านในเมืองตำบลป่าชิงปัจจุบัน จากนั้นย้ายไปตั้งที่จะโหนง เมื่อเปลี่ยนการปกครองแบบเทศาภิบาล อำเภอจะนะก็ไปตั้งที่ว่าการที่อำเภอนาทวี แต่ด้วยเหตุที่การคมนาคม ไม่ค่อยสะดวก จึงย้ายไปตั้งที่ใหม่ ที่บ้านนา พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านนา แต่ไปฟ้องกับชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครนายก จึงได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น อำเภอจะนะ ตามเดิม
ภูมิศาสตร์
อำเภอจะนะมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองสงขลาและอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยและอำเภอเทพา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาทวีและอำเภอสะเดา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่และอำเภอนาหม่อม
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอจะนะแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 139 หมู่บ้าน
1. |
บ้านนา |
(Ban Na) |
10 หมู่บ้าน |
8. |
ขุนตัดหวาย |
(Khun Tat Wai) |
9 หมู่บ้าน |
|||
2. |
ป่าชิง |
(Pa Ching) |
9 หมู่บ้าน |
9. |
ท่าหมอไทร |
(Tha Mo Sai) |
11 หมู่บ้าน |
|||
3. |
สะพานไม้แก่น |
(Saphan Mai Kaen) |
8 หมู่บ้าน |
10. |
จะโหนง |
(Chanong) |
11 หมู่บ้าน |
|||
4. |
สะกอม |
(Sakom) |
9 หมู่บ้าน |
11. |
คู |
(Khu) |
9 หมู่บ้าน |
|||
5. |
นาหว้า |
(Na Wa) |
12 หมู่บ้าน |
12. |
แค |
(Khae) |
7 หมู่บ้าน |
|||
6. |
นาทับ |
(Na Thap) |
14 หมู่บ้าน |
13. |
คลองเปียะ |
(Khlong Pia) |
10 หมู่บ้าน |
|||
7. |
(Nam Khao) |
11 หมู่บ้าน |
14. |
ตลิ่งชัน |
(Taling Chan) |
8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอจะนะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลจะนะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านนา
- เทศบาลตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลจะนะ)
- เทศบาลตำบลนาทับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทับทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าชิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกอมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหว้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขุนตัดหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนตัดหวายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมอไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหมอไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะโหนงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเปียะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันทั้งตำบล