กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมี ส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพโดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ประวัติ
กรมการพัฒนาชุมชน เดิมมีฐานะเป็นส่วนพัฒนาการท้องถิ่น สังกัดกรมมหาดไทย และได้รับการยกฐานะเป็นกรม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2505
กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญของการบริหารงานระหว่างกรมการปกครอง (กรมมหาดไทยเดิม) กับกรมการพัฒนาชุมชน โดยให้ข้าราชการของทั้งสองกรม สามารถโอนย้าย สับเปลี่ยนกันได้ และมีหลักการสับเปลี่ยนหมุนเวียน ยืมตัวกันได้ระหว่างกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำให้สามารถสอบเลื่อนระดับร่วมกันได้
อำนาจและหน้าที่
- กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนระดับชาติ
- จัดทำและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
- พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน
- สนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการ ให้บริการข้อมูลสารสนเทศชุมชน
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน และการจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน
- ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และ เครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทำงาน รวมทั้งให้ความ ร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
หน่วยงานในสังกัด
กรมการพัฒนาชุมชน ได้แบ่งส่วนราชการในสังกัดตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2552 ดังนี้
ราชการบริหารส่วนกลาง
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองการเจ้าหน้าที่
- กองคลัง
- กองแผนงาน
- กองประชาสัมพันธ์
- ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
- สถาบันการพัฒนาชุมชน
- กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
- สำนักตรวจราชการ
- สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน
- สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน
- สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
ราชการส่วนภูมิภาค
- สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด มีพัฒนาการจังหวัด (อำนวยการระดับสูง-ระดับต้น) เป็นหัวหน้าหน่วยงาน
- ฝ่ายอำนวยการ
- กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
- กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน
- กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
- สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ มีพัฒนาการอำเภอ (วิชาการระดับชำนาญการพิเศษ-ชำนาญการ) เป็นหัวหน้าหน่วยงาน
อำเภอบางกล่ำ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอบางกล่ำมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร และอำเภอเมืองสงขลา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอรัตภูมิและอำเภอควนเนียง
อำเภอบางกล่ำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 36 หมู่บ้าน
1. | บางกล่ำ | (Bang Klam) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | ท่าช้าง | (Tha Chang) | 18 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | แม่ทอม | (Mae Thom) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | บ้านหาร | (Ban Han) | 5 หมู่บ้าน |